จิตพอเพียงต่อต้านทุจริต
ความหมายของ
จิต และ พอเพียง
จิต คือ การรับรู้อารมณ์โดยผ่าน
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และความนึกคิดทางใจ ซึ่งเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน
พอเพียง คือ มีพอสำหรับดำรงชีวิต
ความพอเพียงก็หมายถึงความพอประมาณ และความมีเหตุผล คนเราถ้ารู้จักพอไม่โลภ
ก็ถือว่ามีความพอเพียง ความพอเพียงอาจจะมีของหรูหราก็ได้แต่ต้องไม่เดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น
ต้องพอตามอัตภาพของตน
จิตพอเพียงประกอบด้วย
1.ความมีเหตุผล หมายถึง
การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและคำนึงถึงผลที่จะได้รับจากการกระทำนั้น
2.การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้องรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆในอนาคต
3.การรับรู้คุณความดี
หมายถึง การรู้จักว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก หรือรู้จักว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว
พอเพียง ตามแนวพุทธ
1. ไม่ปล่อยตนให้เป็นทาสของวัตถุ
เช่น การทำสิ่งไม่ดีให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพื่อเงิน
หรือการทำสิ่งไม่ดีเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่ต้องการ
2. ไม่ทำตัวให้ลำบาก
เช่น ตระหนี่ ไม่ยอมกิน ไม่ยอมจ่าย ไม่ยอมใช้ ไม่ยอมแบ่งปัน
ทำตนให้เกิดความยากลำบากโดยไม่มีเหตุผล
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หมายถึง ปรัชญาที่เป็นแนวทางการดำรงอยู่ และประชาชนสามารถปฏิบัติตามได้ทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงรัฐบาล
เพื่อให้การดำเนินชีวิตอยู่บนทางสายกลางและพัฒนาได้ในหลายด้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกโลกาภิวัตน์
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย
3 ห่วง ได้แก่ พอประมาณ มีเหตุผล
และมีภูมิคุ้มกันในตัว
2 เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขความรู้
ประกอบด้วย รอบรู้ในวิชาการด้านต่างๆ รอบคอบที่จะนำความรู้ไปใช้
และระมัดระวังในการปฏิบัติทุกขั้นตอน และเงื่อนไขคุณธรรม ที่ต้องตระหนักในเรื่องคุณนธรรมให้มาก
4
มิติ
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
คือ มีความพออยู่พอกิน มีความขยันในกรประกอบวิชาชีพ เพื่อให้ต้นเองพ้นจากความยากจน
2. มิติด้านจิตใจ
คือ รู้จักพอประมาณ พอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้
3. มิติด้านสังคม
คือ มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือกันและกัน มุ่งให้เกืดความสามัคคีเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนกันและกัน
4. มิติด้านวัฒนธรรม
คือ การมุ่มให้เกิดวัฒนธรรมที่ประหยัด อดออม มีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย
ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ
กล่าวโดยสรุปแล้วจิตพอเพียงต้านทุจริต
มุ่งให้เกิดความพอเพียงจากตัวบุคคล เมื่อแต่ละคนเกิดความพึงพอใจในสิ่งที่มีแล้ว
ก็ไม่เกิดความโลภที่จะอยากได้ อยากมีจนเกิดความสามารถของตน
โดยการใช้จิตเป็นหลักในการกำหนด ความดี ชั่ว แยกแยะความสุจริต และทุจริต
ทำแบบทดสอบ
อ้างอิง
ดำรง ชลสุข. (2561). จิตพอเพียงต้านทุจริต (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.matichon.co.th/article/news_1179986 [ 11 มิถุนายน 2562]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น