วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562

พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม


พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

ความหมายของคำว่า พลเมือง

          พลเมือง หมายถึง บุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรองซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) ซึ่งอาจรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ สิทธิกลับประเทศ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองทางกฎหมายต่อรัฐบาลของประเทศ และการคุ้มครองผ่านกองทัพหรือการทูต

ความสำคัญของพลเมือง

          พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมไทย เหมือนกับสังคมอื่น ๆ ทุกสังคมย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงความมีร่างกายจิตใจดี คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้ มีประสิทธิภาพที่จะพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงให้กับประเทศชาติและการเป็นพลเมืองดีนั้นย่อมต้องการปฏิบัติตามบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมมีคุณธรรมเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย

การเป็นพลเมืองดี

1. ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
2. สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
3. มีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย
4. มีทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อสังคม

ลักษณะของพลเมืองดี

           สังคมจะเป็นผู้กำหนดลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อที่จะได้พลเมืองที่ดี ต้องการนั้นคุณสมบัติของสมาชิกในสังคมก็จะต้องมีคุณสมบัติที่เป็นพื้นฐาน ดังนี้

      คุณสมบัติพื้นฐาน คือ คุณสมบัติทั่วไปของการเป็นพลเมืองดี เช่นขยัน อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด รับผิดชอบ มีเหตุผล โอบอ้อมอารี มีเมตตา เห็นประโยชน์ส่วนรวมมีความสำคัญเสมอ

         คุณสมบัติเฉพาะ คือ คุณสมบัติเฉพาะอย่างที่สังคมต้องการให้บุคคลพึ่งปฏิบัติ เช่นต้องการบุคคลที่มีคุณธรรมนำความรู้ เพื่อที่จะให้มีคนดี คนเก่ง ในสังคม

การเป็นพลเมืองดีต่อสังคม

1. เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่  ทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนด
2. มีเหตุผล และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จะช่วยให้ประสานความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีงาม ต่อกัน
3. ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ เมื่อมีความขัดแย้งในการดำเนินงานต้องใช้เสียงข้างมากเข้าช่วย และต้อง ปฏิบัติตามเนื่องจากเป็นเสียงส่วนใหญ่
4. เป็นผู้มีความเป็นประชาธิปไตย มีความเสียสละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และรักษาไว้ซึ่งความเป็นสังคมประชาธิปไตย
5. เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ควรรูจักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด แต่ต้องไม่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นที่ใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียหาย
6. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน ประเทศชาติ การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องมีการทำงานเป็นหมู่คณะ จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและนำไปปฏิบัติตามที่ได้รับมองหมาย
7. มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง การปกครอง สังคมประชาธิปไตยนั้นสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น
8. มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ช่วยสอดส่องพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่หลงเชื่อข่าวลือคำกล่าวร้ายโจมตี ไม่มองผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเราเป็นศัตรู รวมถึงสงเสริมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆด้วยสันติวิธี
9. มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนตามหลักธรรม เป็นหลักในการควบคุมพฤติกรรม
    ของบุคลให้ดำเนินไปอย่างเหมาะสม

          ดังนั้นแล้ว พลเมืองดีกับความรับผิดชอบต่อสังคมย่อมเป็นสิ่งที่คู่กัน พลเมืองดีจะต้องมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน และต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ เนื่องจากว่าในสังคมมีการอยู่เป็นหมู่คณะเมื่อเรากระทำการใดนอกกรอบกติกาของสังคมแล้วทำให้เกิดผลเสียง จึต้องทำหน้าที่รับผิดชอบในการกระทำนั้นต่อสังคมด้วย
          

                           ทำแบบทดสอบ
https://forms.gle/gNr3GRJ2TwDhpARd6


อ้างอิง
พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก(ออนไลน์).สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/hnathiphlmeuxng008/ [11 มิถุนายน 2562]


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม ความหมายของคำว่า พลเมือง           พลเมือง หมายถึง บุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรอ...